ชีวภัณฑ์เพื่อการเกษตร (Bio Green)

  • ฟื้นฟูคุณภาพดิน ปรับสภาพดินก่อนเตรียมการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพดิน
  • กำจัดเชื้อโรคและโรคระบาดในดิน
  • กำจัดสารพิษ สารเคมี ได้มากถึง 12 ชนิด (มีใบรับรองจากสถาบันชั้นนำ)
  • ฟื้นฟูสภาพต้นกล้า ต้นอ่อนก่อนนำไปปลูกในดิน
  • กระตุ้นการแตกรากอ่อน เร่งการเจริญเติบโต
  • เพิ่มความแข็งแรงให้แก่พืช เพิ่มความต้านทานโรคพืชต่างๆ
  • แก้ปัญหาหนอน และแมลงศัตรูพืช
  • ยับยั่งการฟักตัว และลอกคราบของแมลง ควบคุมกำจัดไข่ของแมลง ควบคุมการระบาดของแมลง และพาหะนำโรค (กำจัดไข่ยุง ไข่ผีเสื้อ ไข่แมลงวัน)
  • ย่อยสลายอินทรียวัตถุ ปลดปล่อยธาตุอาหาร ให้พืชนำมาใช้ประโยชน์
  • กำจัดเชื้อโรค กำจัดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในแหล่งน้ำ
  • บำบัดแหล่งน้ำใช้ และน้ำทิ้งในการเพาะปลูก
  • สามารถใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยจุลินทรีย์น้ำ ปุ๋ยหมักหอม โดยน้ำหมักจะหอม ไม่เหม็นเน่า

ชีวภัณฑ์เพื่อการเกษตร

Documents

Acute single oral toxicity experiment in rats – Saga University, Japan
Aflatoxin Testing of Health Supplement – PSB Corporation
การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา – Kasetsart University
Growth Inhibition of Microorganisms – Kasetsart University
Effect of PICO on Growth Inhibition of Microorganisms
การวิจัยการศึกษาผลของ PiCO ต่อ Malachite Greening ในน้ำ – Hong Kong Baptist University (HKBU)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สถาบัน วว.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
หน่วยบริการเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตร,คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด (LCFA)
การทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ –  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันกลางรับตรวจสอบคุณภาพ ยุโรป (NEOTRON, ITALY)
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)TÜV SÜD PSB Thailand
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Toxicity study of Sanson Pico Biocatalyst –  Hong Kong
LD 50 Toxicity 1
LC-MS/MS Method Package for Residual Pesticides By Shimadzu, Japan
Provides unit of the test report is Hong Kong Baptist Church University
  • ฟื้นฟูคุณภาพดิน ปรับสภาพดินก่อนเตรียมการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพดิน
  • กำจัดเชื้อโรคและโรคระบาดในดิน
  • กำจัดสารพิษ สารเคมี ได้มากถึง 12 ชนิด (มีใบรับรองจากสถาบันชั้นนำ)
  • ฟื้นฟูสภาพต้นกล้า ต้นอ่อนก่อนนำไปปลูกในดิน
  • กระตุ้นการแตกรากอ่อน เร่งการเจริญเติบโต
  • เพิ่มความแข็งแรงให้แก่พืช เพิ่มความต้านทานโรคพืชต่างๆ
  • แก้ปัญหาหนอน และแมลงศัตรูพืช
  • ยับยั่งการฟักตัว และลอกคราบของแมลง ควบคุมกำจัดไข่ของแมลง ควบคุมการระบาดของแมลง และพาหะนำโรค (กำจัดไข่ยุง ไข่ผีเสื้อ ไข่แมลงวัน)
  • ย่อยสลายอินทรียวัตถุ ปลดปล่อยธาตุอาหาร ให้พืชนำมาใช้ประโยชน์
  • กำจัดเชื้อโรค กำจัดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในแหล่งน้ำ
  • บำบัดแหล่งน้ำใช้ และน้ำทิ้งในการเพาะปลูก
  • สามารถใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยจุลินทรีย์น้ำ ปุ๋ยหมักหอม โดยน้ำหมักจะหอม ไม่เหม็นเน่า

ประเภทการเพาะปลูกที่เหมาะกับการใช้งาน

  • ผัก (คะน้า กะหล่ำ ขึ้นฉ่าย กวางตุ้ง ผักไฮโรโปนิค ผักออแกนิค ฯลฯ)
  • พืชไร่ (ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ อ้อย สัปปะรด ฯลฯ)
  • สวนผลไม้ (ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด ส้ม มะนาว ทุเรียน เงาะ มะละกอ สตอร์เบอรี่ องุ่น มะม่วง ชมพู กล้วย)
  • พืชตระกูลแตง (เมลอน แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฯลฯ)
  • พืชหัว (มันฝรั่ง มันเทศ เผือก หอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ)
  • พืชตระกูลถั่ว (ถั่วต่างๆ ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ)
  • พริก (พริกหวาน พริกชี้ฟ้า ฯลฯ)
  • สวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน
  • ไม้ตัดดอก / ไม้กระถาง
  • นาข้าว

ปัญหาโรคพืชต่างๆที่เกษตรกรต้องพบเจอ

  • โรคใบจุด
  • โรคราสนิม
  • โรครากเน่าดำ
  • โรครากและโคนเน่า
  • โรคเหี่ยวเขียว
  • โรคโคนต้นเน่าคอดิน
  • โรคสะเก็ดดำ
  • โรคแอนแทรคโนส
  • โรคเหี่ยวเหลือง
  • โรคใบจุด
  • โรคใบไหม้,ใบติด,ใบร่วง
  • โรคเน่าเละ ผลเน่า
  • โรคแคงเกอร์
  • โรคราแป้ง

ช่วยฟื้นฟูสภาพทรุดโทรมของต้นกล้าพืช และกำจัดเชื้อโรคในดิน

ใช้สำหรับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ส้ม, ทุเรียน, พริก, มะเขือ, มัน, แตง ฯลฯ พิโก อไลฟ์ มีคุณสมบัติ ในการกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย / รา ในดิน เช่น โรคโคนเน่า, รากเน่า, โรคเหี่ยว, ยุบตาย, ต้นกล้าเน่า ฯลฯ ใช้ในการเตรียมดินแปลงปลูก โดยผสม 1 กก. ต่อ น้ำ 3,000 ลิตร ราดรดในแปลงปลูกพืช 2ไร่ เดือนละครั้ง (เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเพิ่มอินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ลงในแปลงปลูก อย่างน้อย 2-3 ตันต่อไร่)

ใช้ทำปุ๋ยหมักเชื้อปฏิปักษ์

โดยกองเศษวัชพืช, วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร, ตะกอนอินทรียวัตถุของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารต่าง ๆ มาหมักเป็นปุ๋ยหมักหอม โดยไม่ต้องกลับกอง ใช้ 1000 กรัม ต่อเศษวัสดุ 2,000 กก. (ควรเติม ปุ๋ยยูเรีย 2 kg, หินฟอสเฟต 10 kg)

การใช้เชื้อจุลินทรีย์ พิโก ในการย่อยสลายตอซังข้าว

จุลินทรีย์ พิโก ย่อยสลายตอซังข้าว เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ เข้มข้น 1 กิโลกรัม ผสมน้ำได้ 2,000 ลิตร ใช้ได้กับน้ำ 10 ไร่ จะช่วยย่อยสลายตอซังข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยย่อยสลายเมล็ดวัชพืช ข้าวดีดข้าวลายข้าวนก ช่วยย่อยไข่หอยเชอรี่ ไข่เพลี้ย ตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ มีจุลินทรีย์ที่ทำให้ดินร่วนซุย และมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคข้าวต่าง ๆ ในแปลงนา ช่วยให้ดินดี น้ำดี ไม่มีสารพิษตกค้าง

จุลินทรีย์ในพิโกจะย่อยสลาย ตอซังข้าว, วัสดุเหลือจากการเกษตร อย่างช้า ๆ โดยช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่สำคัญในดินให้แก่พืช อีกทั้งสร้างเอนไซม์ลิกเนส ช่วยย่อยสลายสารลิกนินที่เป็น โครงสร้างต้นข้าว, เอนไซม์เฮมิเซลลูเลส, เซลลูเลส ช่วยย่อยสลายเยื่อใยไฟเบอร์ของต้นพืชให้แตกตัว, เอนไซม์เพ็กติเนส ช่วยย่อยสลายสารเพ็กตินที่เป็น โครงสร้างเปลือก ไม้ยืนต้น นอกจากนั้นจุลินทรีย์ในพิโกยังผลิตสารแบคทีริโอซิน และ อิทุริน ซึ่งมีคุณสมบัติในการกาจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืชหลายๆชนิด และทำลาย ไข่ไส้เดือนฝอย (nematode) รวมถึงไข่ของแมลงด้วย ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงนั้น

ใช้ 300 กรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ราดรดให้ทั่วแปลงนาข้าว 1 ไร่ โดยทำหลังจากเก็บเกี่ยวต้นข้าวจากนาและราดรดเมื่อทำการไถพลิกดิน จุลินทรีย์จากพิโก จะเร่งขบวนการย่อยสลายตอซังให้กลับมาเป็นปุ๋ยทางธรรมชาติในดินอย่างรวดเร็ว

วิธีและขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการหมัก

  1. เชื้อจุลินทรีย์พิโก จำนวน 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม
  2. ถังหมักจุลินทรีย์ถังละ 200 ลิตร (ใช้ 10 ถัง), หรือ 1,000 ลิตร (ใช้ 2 ถัง)
  3. เครื่องมือในการฉีดพ่นปุ๋ย หรือ สารเคมี (ต้องล้างให้สะอาดไม่มี ยาฆ่าแมลงตกค้าง)

ขั้นตอนหมักเชื้อเชื้อจุลินทรีย์พิโก (1 กิโลกรัม ใช้กับนาข้าวได้ 10 ไร่)

  1. นำถังที่เตรียมไว้ใส่น้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีน หรือ ยาฆ่าแมลง ลงในถัง 200 ลิตร (ใช้ 10 ถัง)
  2. นำหัวเชื้อพิโก 100 กรัม เทลงในถัง 200 ลิตร ต่อ 1 ถัง (1 กก. ทำได้จำนวน 10 ถัง), หรือนำหัวเชื้อพิโก 500 กรัม ผสมลงในถัง 1,000 ลิตร (1 กก. ทำได้จำนวน 2 ถัง), จากนั้นให้กวนส่วนผสมให้เข้ากันอย่างดี
  3. หมักหัวเชื้อพิโกทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน ควรเปิดฝาถัง เพราะจุลินทรีย์ต้องการอากาศหายใจ และควรหมักในที่มีแดดจัด จะยิ่งทำให้เชื้อเจริญได้อย่างรวดเร็ว
  4. วันรุ่งขึ้นนำไปฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 10 ไร่ ในเวลาตอนเช้า ปรับหัวฉีดให้เป็นละอองเม็ดใหญ่

ขั้นตอนในการปฏิบัติในการขบวนการย่อยสลาย (ใช้หัวเชื้อพิโกจำนวน 1 กก. / 10 ไร่)

  • ปล่อยน้ำเข้าแปลงนา ให้ท่วมพอประมาณ
  • เอารถย้ำตอซังให้จมน้ำจนทั่วแปลงนา ให้ฟางจมน้ำ ถ้าฟางไม่จมน้ำจะย่อยไม่ได้ นำน้ำสารละลายไปฉีดพนให้ทั่วพื้นที่ 10 ไร่ ในเวลาตอนเช้า ปรับหัวฉีดให้เป็นละอองเม็ดใหญ่
  • ทิ้งไว้ให้ครบ 3-5 วัน ก็เป็นการสิ้นสุดการย่อยสลาย สามารถทำการคราดหรือไถต่อได้เลย

การย่อยจะเกิดผลดีดังนี้คือ

  • ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และซิลิก้า (SiO2) การไถกลบฟางข้าวจำนวน 1 ตัน จะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ ไนโตรเจน (N) 6 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P2O5) 1.4 กิโลกรัม โพแทสเซียม (K2O) 17 กิโลกรัม แคลเซียม (Ca) 1.2 กิโลกรัม แมกซีเซียม (Mg) 1.3 กิโลกรัม และที่สำคัญคือได้ธาตุซิลิก้า (SiO2) จำนวน 50 กิโลกรัม โดยประมาณแล้ว 1 ไร่จะได้ฟางข้าว 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่ และตอซังอีก 1,200 – 1,500 กิโลกรัม/ไร่
  • ย่อยวัชพืชในแปลงนา โดยเฉพาะข้าวดีด ข้าวหาง ข้าวลาย ข้าวนก จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เป็นการขจัดวัชพืชในแปลงนาอย่างได้ผล
  • ทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ต้นข้าวออกรากลึกและรากเยอะ ช่วยให้ต้นข้าวหาอาหารได้มาก ลำต้นแข็งแรง
  • ช่วยกำจัดควบคุมจุลินทรีย์ และเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ของต้นข้าว
  • ย่อยสลายไข่เพลี้ย เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดย ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิต ทำให้การแพร่ระบาดลดลง
  • ย่อยสลายไข่หอยเชอรี่ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิต ทำให้การแพร่ระบาดลงลดการสูญเสียการทำลายของต้นข้าว
  • จุลินทรีย์จะช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรด-ด่าง ให้เป็นกลาง และเพิ่มความร่วนซุยของดินให้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถามสั่งซื้อสินค้า