“คู่มือระบบบำบัดน้ำเสีย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของน้ำเสียชุมชน ระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ตั้งแต่ระบบขนาดเล็กที่ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยจนถึงระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนขนาดใหญ่ และ อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ได้ทั่วไป เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสียรวมทั้งประชาชนและเอกชนทราบถึงเทคนิควิธีการ เกร็ดความรู้ ในการจัดการ ดูแลน้ำเสียสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกวิธี และเกิดความตระหนักร่วมมือในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฎิบัติงานของหหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วๆไปสามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สามารถคลิกเลือกหัวข้อต่างๆ ได้จากด้านล่างนี้
คำศัพท์
พารามิเตอร์ที่สำคัญ
น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater)
– น้ำเสีย (wastewater)
– น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater)
– ลักษณะนำเสียที่สำคัญในการตรวจวิเคราะห์
– ผลกระทบของน้ำเสียชุมชนต่อสุขภาพอนามัย
– การควบคุมการเกิดมลพิษทางน้ำ
กระบวนการบำบัดน้ำเสีย (wastewater Treatment Process)
– การบำบัดขั้นเตรียมการและขั้นต้น (Preliminary Treatment/Primary Treatment)
– การบำบัดขั้นที่สอง (Second Treatment)
– การบำบัดขั้นที่สาม (Tertiary Treatment)
– การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment)
– การบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment)
– การกำจัดตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment)
หน่วยบำบัดน้ำเสีย (Unit Operation)
– การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment)
– การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment)
– การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)
– ข้อแตกต่างระหว่างกระบวนการใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ
ระบบระบายน้ำเสีย (Sewerage System)
– ความหมาย/คำจำกัดความ
– ระบบท่อระบายน้ำ
– องค์ประกอบของระบบท่อระบาย
– ประเภทของท่อระบายน้ำ
– ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบท่อระบายน้ำ
รูปแบบการจัดการน้ำเสียชุมชน
– การรวบรวมน้ำเสีย
– ประเภทระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
*ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่
*ระบบบำบัดน้ำเสียแบบกลุ่มอาคาร
*ระบบบำบัดน้ำเสียแบบรวมศูนย์
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบรวมศูนย์ (Central Wastewater Treatment)
– ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond: SP)
– ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon: AL)
– ระบบแอ็กทิเวเต็ดสลัดจ์หรือระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge: AS)
– ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)
– ระบบบำบัดน้ำเสียแบบจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor: RBC)
ปัญหามลพิษทางน้ำในปัจจุบันมักเกิดจากการระบายน้ำเสียจาก อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติซึ่งนับวันปัญหาเหล่านี้จะยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยแหล่งที่มาของมลพิษทางน้ำส่วนใหญ่มาจาก น้ำเสียของแหล่งชุมชน (Domestic Wastewater) ซึ่งเกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่ อาศัยอยู่ในชุมชนและกิจกรรมที่เป็นอาชีพ ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือน และอาคาร ประเภทต่างๆ เช่น อาคารบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรร โรงแรมคอนโดมิเนียม ตลาดสด โรงพยาบาล เป็นต้น
แม้ว่าแหล่งกำเนิดน้ำเสียชุมชนบางส่วนจะมีการบำบัดน้ำเสียจาก ส้วมด้วยบ่อเกรอะ-บ่อซึม หรือเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปขนาดเล็ก มาใช้งานก็ตามน้ำทิ้งที่ออก จากบ่อหรือถังบำบัดเหล่านี้จะถูกระบายลงสู่คลองหรือท่อระบายน้ำสาธารณะและไหลลงสู่แม่น้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติในที่สุด นอกจากนี้ชุมชนเมืองอีกหลายแห่งของประเทศยังไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียที่ดีทำให้น้ำเสียที่เกิดขึ้นถูกระบายลงสู่ทางระบายน้ำ สาธารณะ ก่อให้เกิดสารประกอบไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า ก๊าซ มีเทน และสารประกอบแอมโมเนีย ทําให้แหล่งน้ำมีสภาพเสื่อมโทรม น้ำเน่า เสียมีสีดำและส่งกลิ่นเหม็น จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
ดังนั้น เพื่อช่วยกันลดปัญหามลพิษทางน้ำของแหล่งน้ำในอนาคตและ ป้องกันไม่ให้มีการระบายน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง จึงควรมีการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่อยู่อาศัยตามอาคาร บ้านเรือน รวมทั้งเจ้าของสถานประกอบการ ร้านอาหาร และตลาดซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียรวมขนาดเล็กก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ