สำนักงานเขตบึงกุ่มผนึกกำลังพิโก อไลฟ์ เปิดโครงการ “บำบัดน้ำเสีย…เปลี่ยนสู่น้ำใส” นำร่องแก้ปัญหาน้ำเสียเพื่อชุมชนยั่งยืน

15 มกราคม 2568 – สำนักงานเขตบึงกุ่มจับมือบริษัท พิโก อไลฟ์ จำกัด ผู้นำนวัตกรรมจุลินทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนเพชรคลองจั่นและหน่วยงานท้องถิ่น เปิดตัวโครงการ “บำบัดน้ำเสีย…เปลี่ยนสู่น้ำใส” เพื่อตอบโจทย์ปัญหาน้ำเสียในคลองวัดพิชัยอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ชาวชุมชน โดยใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ชีวภาคเฉพาะสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

“คลองใส ไร้กลิ่น” ด้วยนวัตกรรมจุลินทรีย์แห่งอนาคต
นางสาวเบญจพร ศักดิ์เรืองแมน ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม กล่าวว่า “คลองวัดพิชัยเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน ปัญหาน้ำเสียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นคุณภาพน้ำและสร้างชุมชนที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น”

บริษัท พิโก อไลฟ์ จำกัด นำโดยนายจีรศักดิ์ นาคานารา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้เผยว่า เทคโนโลยีจุลินทรีย์ชีวภาคที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนใครได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้ภายใน 1 นาที ลดสาหร่ายและตะกอนน้ำเสีย อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเห็นผลในการบำบัดภายใน 5 นาที ทั้งนี้ยังตอบโจทย์ความต้องการในการลดการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของบริษัทในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย ESG และ SDGs

โครงการนำร่องเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
“พิโก อไลฟ์ มุ่งมั่นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โครงการนี้ไม่เพียงแค่บำบัดน้ำเสียในคลองวัดพิชัย แต่ยังเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายกันทั่วประเทศ” นายจีรศักดิ์กล่าว

ชุมชนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
การมีส่วนร่วมของชุมชนถือเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในครั้งนี้ ทีมงานของพิโก อไลฟ์ยังได้จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนสามารถมีบทบาทในการดูแลคลองวัดพิชัยได้อย่างต่อเนื่อง

สู่อนาคตที่ใสสะอาด
โครงการ “บำบัดน้ำเสีย…เปลี่ยนสู่น้ำใส” จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งในด้านคุณภาพน้ำ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.picoalive.com

“จากคลองที่เคยเน่าเสีย สู่แหล่งน้ำใสสะอาดที่ชุมชนภาคภูมิใจ”