มารู้จัก DO (Dissolved oxygen) ในแหล่งน้ำกัน ว่าคือค่าอะไร และมีความสำคัญกับแหล่งน้าอย่างไรบ้าง?
DO คือการหาปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต อย่างการหายใจ เจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างจุลินทรีย์บางชนิดที่ต้องการออกซิเจน สัตว์น้ำ พืชน้ำ ต้องใช้ออกซิเจนในกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดพลังงานก่อให้เกิดการหมุนเวียนของระบบนิเวศต่อไป ออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น อุณหภูมิระดับความสูง และความเค็ม ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยเมื่ออุณหภูมิสูง และน้ำที่มีความเค็มสูงจะมีออกซิเจนละลายอัตราความเข้มข้นเท่ากับออกซิเจนในบรรยากาศเรียกว่า จุดอิ่มตัว(Saturation Level) ดังนั้นสัตว์น้ำจะเสี่ยงต่อการขาดแคลนออกซิเจนมากกว่าสัตว์บก ในช่วงฤดูร้อนอัตราการย่อยสลาย และปฏิกิริยาต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณความต้องการออกซิเจนสูงไปด้วย บางครั้งในแหล่งน้ำจะมีปรากฎการณ์เกินจุดอิ่มตัว(supersaturation) เนื่องจากการผลิตออกซิเจนออกมามาก เช่น พืชสีเขียวทำการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ตอนกลางวัน สภาพดังกล่าวหากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ สัตว์ พืช ได้เช่นกัน ดังนั้นการควบคุมและป้องกันไม่ให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลงอยู่ในระดับต่ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคุ้มครองให้จุลินทรีย์ สัตว์ พืช อาศัยอยู่ได้
ออกซิเจนสามารถเข้าสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ จุลินทรีย์ สัตว์ พืช นำไปใช้ประโยชน์ได้จากหลากหลายวิธี อาทิเช่น ออกซิเจนชั้นบรรยากาศละลายและผสมเข้ากับผิวน้ำ สาหร่าย และหญ้าใต้น้ำปล่อยออกซิเจนระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง การไหลของน้ำลงสู่อ่าวจากลำธาร แม่น้ำ และมหาสมุทร น้ำทะเล กระบวนการต่างง ทางธรรมชาติล้วนก่อให้เกิดการหมุนเวียนของออกซิเจนในน้ำทั้งสิ้น
ค่า DO แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การดำรงชีวิต การขยายพันธุ์และการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตควรมีค่า DO ไม่ต่ำกว่า 5 มก./ลิตร ถ้าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีค่าต่ำกว่า 2 มก./ลิตร จะไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ และถ้าไม่มีปริมาณ DO จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียได้
หลังจากที่เราทราบถึงความสำคัญของค่า DO ต่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ สัตว์ พืช ในแหล่งน้ำไปแล้ว จึงกล่าวได้ว่าค่า DO มีบทบาทสำคัญในการเป็นค่าดัชนีหนึ่งของการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบที่ใช้อากาศ (Aerobic System) โดยปกติค่าออกซิเจนในแหล่งน้ำจะลดลงเรื่อยๆ เพราะจุลินทรีย์จะนำออกซิเจนไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบ ปัจจุบันจึงมีการใช้อุปกรณ์มาช่วยในการควบคุมออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอต่อการนำไปใช้ของจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ต้องการอากาศจนเกิดประสิทธิภาพต่อระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศสามารถแยกได้ตามลักษณะการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์แบ่งได้เป็นสองประเภท คือระบบจุลินทรีย์แขวนลอย (Suspendend Growth System) เช่นระบบเอเอส ระบบบ่อเติมอากาศ และระบบจุลินทรีย์เกาะผิวตัวกลาง (Attached Growth System) เช่น ระบบโปรยกรอง ระหมุนเวียนชีวภาพ ทั้งนี้อย่าลืมว่าระบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพมีแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Biological Treatment Process) โดยอาศัยจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนอยู่ด้วย
ค่า DO (Dissolve Oxygen) จึงมีความสำคัญ ที่จะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของแหล่งน้ำนั้นๆอีกทางหนึ่งเช่นกัน ตอนต่อไป เราจะพาไปรู้กับกับค่าคุณภาพในการตรวจหามาตรฐานของแหล่งน้ำค่าไหนต่อไป ต้องติดตามกันครับ