You are currently viewing 3 วิธีการตรวจเช็คปัญหาน้ำเน่าเสีย
  • Post category:Knowledge / Article

วันนี้จะพาทุกท่านเรียนรู้วิธีจัดการวิธีการตรวจเช็คปัญหา น้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นได้ง่ายๆ เพียงแค่ 3  วิธี น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ว่าสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

หากพวกเราตระหนักในสภาพ ปัญหาน้ำเสีย และร่วมกันค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการ ร่วมดำเนินการจัดการน้ำเสีย โดยดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญทางกายภาพ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. กลิ่น (ODOR) กลิ่นในน้ำเสียนั้นโดยทั่วไปเกิดจากก๊าซ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดไม่ต้องการออกซิเจน (ANAEROBIC MICROORGANISM) กลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นดัชนีบ่งบอกการทำงานของระบบท่อน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนระบบทิ้งตะกอน จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงการควบคุมกลิ่นเพื่อให้สาธารณะยอมรับระบบเหล่านี้ด้วย
  2. สี  (COLOR) น้ำเสียจากชุมชนมักจะมีสีเทาปนน้ำตาลจางๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาแบบไม่ใช้ออกซิเจน สีจะเริ่มเปลี่ยนเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเป็นสีดำ พร้อมกับมีกลิ่นเหม็น โดยทั่วไปแล้ว สีดำของน้ำเสียเกิดจากการรวมตัวของก๊าซไข่เน่า กับธาตุโลหะที่มีอยู่ในน้ำเสีย เกิดเป็นโลหะซัลไฟด์  (METALLIC SULFIDES)  สีของน้ำตามธรรมชาติจะเกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุ เช่น ต้นหญ้า พืชน้ำ หรือใบไม้ที่เน่าเปื่อยทับถมกัน เป็นต้น จึงมีสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีชา ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ต่างๆ เป็นสารพวกแทนนิน (Tannin) กรดฮิวมิก (Humic Acid) นอกจากนี้ หากมีการปนเปื้อนน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสี น้ำก็มักจะมีสีตามน้ำทิ้งนั้นๆ เช่น โรงงานฟอกย้อมสีผ้าต่างๆ ที่ปล่อยน้ำทิ้งออกมามีสีต่างๆ ทำให้น้ำในแหล่งน้ำมีสีเกิดขึ้น เป็นต้น สีของน้ำจะมี 2 ชนิดด้วยกันคือ สีปรากฏ (Apparent Color) คือ สีที่เกิดจากสารแขวนลอยต่างๆ และสีจริง (True Color) คือ สีที่เกิดจากสารละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ กำจัดออกไปได้ยาก สีชนิดนี้เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ ถึงแม้ว่าสีที่เกิดโดยธรรมชาติจากการย่อยสลายของพืชต่างๆ จะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็มีผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเห็นว่าน้ำนั้นไม่บริสุทธิ์ และอาจไม่ปลอดภัย จึงจะพยายามหาแหล่งน้ำอื่นแทน
  3. ของแข็ง (SOLIDS)   หมายถึง ปริมาณของสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียทั้งในลักษณะที่ไม่ละลายน้ำ และละลายน้ำ (DISSOLVED SOLIDS) ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ มี อาทิ หลอดกาแฟ ผ้าอนามัย เศษอาหาร อุจจาระสิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ ของแข็งบางชนิดที่มีน้ำหนักเบาละ แขวนลอยอยู่ในน้ำ (SUSPENDED) บางชนิดหนักและจมลงเบื้องล่าง (SETTLEABLE SOLIDS)  ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำนี้อรจนร้างปัญหาในการอุดตัน และถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมาก จะทำให้เกิดความสกปรก และตื้นเขินในลำน้ำธรรมชาติ ตลอดจนบดบังแสดงแดดส่องลงสู่ท้องน้ำ **นอกจากการเช็คทั้ง 3 วิธีนี้แล้วทางเพจเรายังมีข้อมูลของปัญหาน้ำเน่าเสียให้ได้ติดตาม อย่าพลาดนะคะ**

ใส่ความเห็น