ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเลี้ยงตะกอนเร่ง (Activated Sludge, AS)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่มีใช้ในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 36 ของระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั้งหมดในประเทศไทย จัดอยู่ในประเภทระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีชีววิทยาแบบใช้ออกซิเจน
รูปแบบ : ประกอบด้วยถังเติมอากาศและถังตกตะกอน
หลักการทำงาน : มีการหมุนเวียนตะกอนจากถังตกตะกอนไปเลี้ยงในถังเติมอากาศโดยจะต้องมีการกวน เพื่อให้ตะกอนจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียได้สัมผัสกับสารอินทรีย์และออกซิเจนได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ ระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเลี้ยงตะกอนเร่ง มีการพัฒนาใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ระบบแบบกวนสมบูรณ์ (Completely Mix) กระบวนการปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Process) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) หรือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) เป็นต้น
ข้อดี : มีประสิทธิภาพการบำบัดสารอินทรีย์ในรูปบีโอดี ร้อยละ 80 – 95 แลtใช้พื้นที่ก่อสร้างระบบน้อย
ข้อด้อย : ใช้พลังงานสูง การเดินระบบมีความยุ่งยากซับซ้อน และมีกากตะกอนจำนวนมากที่ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ดูน้อยลง