มารู้จักไนโตรเจนกับบทบาทในด้านสิ่งแวดล้อมในนามค่า TKN กัน
ธาตุไนโตรเจน เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยการนำมาใช้สร้างโปรตีนกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของยีน และสารประกอบต่างๆภายในเซลล์ ถึงแม้เราจะพบไนโตรเจน ในบรรยากาศ แต่มีสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถตรึงในตรอเช่นจากอากาศมาใช้ได้โดยตรง โดยสิ่งมีชีวิตที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้แก่แบคทีเรียและสาหร่ายบางชนิดดังนั้นสิ่งมีชีวิตอื่น จะได้รับในโตรเจนจากการบริโภคสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองประกอบกันเป็นห่วงโซ่อาหารหากมีปริมาณไนโตรเจนมากเกินไปสิ่งมีชีวิตที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ก็จะ เจริญเติบโตมากเกินไปจนก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีหรือแพลงก์ตอนบูม (Plankton blooms) จึงควรมีการวิเคราะห์ค่าไนโตรเจนก่อนการปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
(Total Keldahl Nitrogen : TKN) หมายความว่า ไนโตรเจนที่อยูในรูปแอมโมเนียและออร์แกนิกไนโตรเจน ออร์แกนิก ไนโตรเจน หมายความว่า ไนโตรเจนที่อยูในสารประกอบอินทรีย์ประเภทโปรตีนและผลิตผลจากการย่อยสลายของไขมัน เช่น โพลีไทด์ และกรดอะมิโนเป็นต้น
ไนโตรเจนในน้ำเสียที่พบในน้ำเสียมีสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด
1.แอมโมเนีย (NH3) ได้แก่ NH3 หรือ NK4+
2.สารอินทรีย์ไนโตรเจน (Organic nitrogen) ได้แก่ยูเรีย กรดอมิโน ถัวเหลือง มูลสัตว์
3.ไนไทรต์ (Nitrite) ได้แก่ NO2
4.ไนเทรต (Nitrate) ได้แก่ NO3 –
น้ำเสียโดยทั่วไปจะพบไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของอินทรีย์ไนโตรเจนเป็นส่วนมากเนื่องจากการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการแปรรูปอาหาร ประเภทโปรตีน โรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า เกษตรกรรมจากการใช้ปุ๋ยจากสารเคมี น้ำเสียชุมชนที่มีการปนเปื้อนของปัสสาวะจะมีบางส่วนที่จะเป็นไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของแอมโมเนีย และยังสามารถ พบไนโตรเจนในรูปแบบไนไทรต์ ในเทรต ได้อีกเพียงเล็กน้อย
ปัจจุบันมีการคิดวิธีการบำบัดน้ำเสีย เพื่อการลดมลพิษทางน้ำก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติให้มีค่ามาตรฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็น BOD (Biological Oxygen Demand, BOD) ของแข็ง FOG (Fat, Oil and Grease :FOG) รวมไปถึงค่า TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) ให้อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นการลดปัญหา น้ำเน่าเสีย และวิธีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ก็คือวิธีการ บำบัดแบบชีวภาพ (Biological Treatment)ในน้ำเสียจะมีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ และสามารถกำจัดสาร มลพิษได้โดยธรรมชาติ โดยต้องมีปริมาณของจุลินทรีย์ที่เพียงพอต่อการย่อยสลาย เพราะหากพบจุลินทรีย์มีปริมาณมากเกินไปก็อาจจะทำให้แหล่งน้ำนั้นๆขาด ออกซิเจนได้ แต่ถ้ามีปริมาณของจุลินทรีย์น้อยเกินไป ก็จะเกิดการย่อยสลายที่ไม่สมบูรณ์
จะเห็นว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของเราอย่างมาก เป็นตัวแปรผันในการวิเคราะห์ของค่าต่างๆ และนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเรา ดังนั้นในการแก้ปัญหาค่าคุณภาพน้ำ เราต้องใส่ใจเลือกหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ และถูกคัดสายพันธุ์อย่างดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฝากติดตามความสามารถของจุลินทรีย์ในบทความต่อไปด้วยนะครับ
ดูข้อมูลเรื่องการปรับปรุงคุณภาพน้ำ คลิก