โดนปรับเพราะค่า COD ไม่ได้มาตรฐาน เป็นปัญหาของผู้ประกอบหลายๆท่าน แล้ว COD คือค่าอะไรหาคำตอบได้กับหัวข้อวันนี้ครับ
ปัจจุบันน้ำเน่าเสียถูกพบมากเนื่องจากการเจริญเติบโตด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความเสียหายในแหล่งน้ำทำให้สิ่งมีชีวิต พืชไม่สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำได้ แม้แต่มนุษย์เองก็ไม่สามารถนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ระยะยาว จึงได้มีมาตรการควบคุมน้ำเน่าเสียก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อกำหนดให้ผู้ปล่อยมลพิษ ปล่อยน้ำเสีย ต้องบำบัดและดูแลน้ำของตัวเองก่อนปล่อยออกสู่ชุมชน เป็นการลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ซึ่งกฎดังกล่าวนี้เองที่เป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการต้องตระหนัก และต่างหาวิธีในการบำบัดน้ำเสียของธุรกิจของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ก็จะมีบทบังคับใช้ตั้งแต่เสียค่าปรับ ไปจนถึงให้ปิดกิจการ
โดยการปล่อยน้ำเน่าเสียจะอยู่ทั้งในรูปสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียทั่ว ๆ ไปสามารถวิเคราะห์ลักษณะสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ พีเอชคลอไรด์ความเป็นด่างไนโตรเจนฟอสฟอรัสซัลเฟอร์โลหะหนักและการละลายน้ำสารอนินทรีย์บางชนิดมีส่วนช่วยให้กระบวนการบำบัดน้ำเสียเป็นไปได้ด้วยดีในขณะที่สารอนินทรีย์บางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้านอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นไขมันและน้ำมัน หรือน้ำเสียด้านชุมชนอาจมีส่วนประกอบของผงซักฟอกน้ำเสียจากการเกษตรที่มีส่วนประกอบของยาปราบศัตรูพืชต่าง ๆ และสารที่ย่อยสลายได้ยากปนเปื้อนอยู่บ้างปริมาณสารอินทรีย์สามารถประมาณได้จากค่าปริมาณของแข็งระเหยง่าย (VS) แต่ผลที่ได้อาจมีค่าไม่ละเอียดนักดังนั้นการวัดปริมาณสารอินทรีย์ในปัจจุบันจึงนิยมวิเคราะห์ BOD (Biological Oxegen Demand และ COD (Chemical Oxygen Demand) ซึ่ง COD สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์หลักการของ COD จะคล้ายกับ BOD คือการวิเคราะห์ BOD
COD คือปริมาณของออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับทำปฏิกิริยาเคมี (Oxidation) สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ของตัวอย่างน้ำที่ทำการวิเคราะห์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ โดยจะใช้หลักการว่าสารประกอบอินทรีย์เกือบทุกชนิดจะถูกออกซิไดซ์ด้วย Strong Oxidizing Agents เช่นโพแทสเซียมไดโครเมต (K₂Cr₂O₇) ภายใต้สภาวะที่เป็นกรด โดยปกติค่า COD จะสูงกว่าค่า BOD ทั้งนี้เพราะสารอินทรีย์คาร์บอนจะถูกออกซิไดซ์อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการดูดซึมทางชีวะ (biological assimilation) ของสารเหล่านั้น เช่น กลูโคส ลิกนิน เซลลูโลส โดยเฉพาะถ้าน้ำเสียนั้นมีสารอินทร์ที่ไม่สามารถถูกออกซิไดซ์ ทางชีวะปนอยู่ด้วย จึงทำให้ค่า COD สูงกว่าค่า BOD มาก แต่โดยขั้นตอนการดำเนินการวิเคราห์แบบ COD มีระยะเวลาเพียงแค่ 3 วันแต่BOD ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงเชื้อในตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จึงทำให้ต้องใช้เวลามากกว่าหลายวันในการจะทราบผลของความสกปรกของน้ำเสียในแหล่งน้ำนั้นๆ
ในการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียดัชนีที่บ่งบอกถึงความสกปรก ของน้ำเน่าเสียนั้นๆ จึงมีความสำคัญอย่างมากในแต่ละดัชนีหรือการวิเคราะห์ก็มีวิธีการ หรือกระบวนการในการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้อยู่ที่ความพร้อม เวลา ที่ต้องการทราบค่าความสกปรกหรือนำค่านั้นๆมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการบ่งชี้ความเป็นอันตรายของแหล่งน้ำนั้นๆ หรือเพื่อออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย หากพบว่าในแหล่งน้ำเสียมีค่า BOD และ COD สูงสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีบำบัดแบบทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็นการเติมจุลินทรีย์ หรือเติมอากาศก็ตามเพราะแหล่งน้ำที่ดีจะต้องมีออกซิเจนเพียงพอต่อการอาศัย หรือนำออกซิเจนไปย่อยสลายของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำ
ค่าความสกปรกในแหล่งน้ำยังมีอีกหลายค่าดัชนีที่นิยมนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบสนองต่อการดูแลสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำนั้นๆ เราจะมาเล่าให้ฟังในบทความต่อไป ฝากติดตามด้วยนะครับ