ค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ควรรู้ในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย
BOD
BOD คือ Biochemical Oxygen demand ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ในน้ำ ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร เรียกย่อๆว่า BOD (บี โอ ดี) คือ ค่าปริมาณออกซิเจน ที่ต้องการเพื่อใช้ไปในกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ค่า BOD สูง หมายถึงในน้ำมีการใช้ ออกซิเจนมาก โดยสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีเชือจุลลินทรีย์อยู่มาก ค่า BOD ต่ำนั้นหมายถึงระดับการใช้ออกซิเจน ของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นต่ำ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ในน้ำนั้นมีสารอินทรีย์มากน้อยหรือไม่ (จุลลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็มีเหมือนกัน)
ค่าบีโอดี ในทางการวิเคราะห์น้ำเสียหมายถึง ปริมาณของออกซิเจน ที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี 5 Days Incubation and Azide Modification เป็นค่าแสดงความสกปรกของน้ำเสียในรูปของออกซิเจน ที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ชนิดย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน เป็นกระบวนการ ทดสอบทางชีวเคมีเพื่อหาปริมาณออกซิเจนซึ่งแบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียภายใต้สภาวะที่เหมือนกับเกิดในธรรมชาติมากที่สุด โดยกำหนดเวลาให้แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลาย ( Incubate ) ที่อุณหภูมิ 20 +/- 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน
COD
COD คือ Chemical Oxygen demand ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต () ในปริมาณมากเกินพอในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่าพารามิเตอร์มากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย
ค่าซีโอดี ในทางการวิเคราะห์น้ำเสียหมายถึง ปริมาณของออกซิเจนทั้งหมด ที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชั่นสารอินทรีย์ในน้ำให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ไปวิเคราะห์โดยวิธี Closed Reflux and Titration เป็นค่าแสดงความสกปรกของน้ำเสีย โดยการวัดปริมาณออกซิเจนทั้งหมด ที่ใช้ในการออกซิไดส์สารอินทรีย์ต่าง ๆ ในน้ำเสีย และจะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นผลจาก
ปฏิกิริยาครั้งสุดท้าย นอกจากนี้พวกกรดอะมิโนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนียไนโตรเจน เงื่อนไขสำคัญในการวิเคราะห์ซีโอดี คือปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Oxidation ) ต้องเกิดขึ้นโดยอาศัยออกซิไดซิ่งเอเจนต์ ( Oxidizing agent ) อย่างแรงภายใต้สภาวะที่เป็นกรดเข้มข้น และอุณหภูมิสูง
pH
pH เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสีย หากค่าพีเอชต่ำกว่า 7 น้ำจะมีสภาวะเป็นกรด ถ้าสูงกว่า 7 มีสภาวะเป็นด่าง โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในถังบำบัดจะดำรงชีพ ได้ดีในสภาวะเป็นกลาง คือ พีเอชประมาณ 6-8 ค่าพีเอชที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปจะทำให้ระบบนิเวศน้ำเสียหาย สัตว์และพืชน้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมีฤทธิ์กัดกร่อนท่อหรือภาชนะได้
SS (Suspended Solid)
SS (Suspended Solid) หรือปริมาณของแข็งแขวนลอย ในน้ำเสียไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลิตรของแข็งแขวนลอยเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เศษอาหาร ซากสิ่งมีชีวิต แพลงก์ตอนบางชนิด ตะกอนทรายที่ถูกเคลื่อนย้ายมากับน้ำ โดยเกิดจากน้ำฝน ลม และแรงโน้มถ่วงของโลก หรือสิ่งสกปรกที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำ เป็นต้น
TS (Total Solids)
TS (Total Solids) ของแข็งทั้งหมด คือปริมาณของแข็งท่ีเหลืออยู่ในอาหารเมื่อระเหยไล่เอาน้ำอิสระออกไปทั้งหมด ของแข็งนี้จะมีทั้งของแข็งที่ละลายได้ในน้ำและของแข็งที่ไม่ละลายในน้ำรวมกัน
TSS
TSS (Total Suspended Solids) คือ ของแข็งหรือตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบามีสารทำให้เกิดสีและความขุ่น โดยจะแขวนลอยหรือเจือปนอยู่ในแหล่งน้ำ
TDS
TDS คือการวัดปริมาณของแข็ง สารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำปริมาณ TDS ไม่เกิน 500 mg/l ของน้ำใด ๆ จะแสดงเป็นมิลลิกรัม/ลิตร (มก. /ลิตร) หรือในส่วนต่อล้าน (ppm) TDS ในการศึกษาคุณภาพน้ำสำหรับลำธาร แม่น้ำและทะเลสาบ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว TDS จะไม่ถือว่าเป็นการวัดมลพิษเช่นไม่ถือว่าเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ก็ถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงลักษณะคุณภาพของน้ำ ดื่มและเป็นตัวบ่งชี้รวมของการมีอยู่ของสารเคมีปนเปื้อนด้วย
FOG (FAT OIL AND GREASE)
FOG (FAT OIL AND GREASE) คือ ปริมาณน้ำมันและไขมันในรูปต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย FOG เป็นสารปนเปื้อนตัวหนึ่งที่ต้องบำบัดให้ได้ตามมาตราฐานน้ำทิ้งชุมชน คือไม่เกิน 20 มก. /ล. และมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรมไม่เกิน 5 มก./ล.
เอกสารอ้างอิง
ภาพประกอบ freepik.com (@natalliaboroda)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์ พิโก อไลฟ์ (Pico Alive)